กิจกรรมวันที่ 22-26 พ.ย. 2553




  มิวเทชันหรือ การ กลายพันธุ์หมายถึงการเปลี่ยนแปลงลักษณะพันธุกรรมและลักษณะที่เปลี่ยนแปลง สามารถจะถ่ายทอดจากชั่วอายุหนึ่งได้  แบ่งออกเป็น 2 ระดับคือ
1.มิวเทชันระดับโครโมโซม(chromosome mutation)คือการกลายพันธุ์ที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงโครโมโซม  อาจจะเป็นการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของโครโมโซมหรือการเปลี่ยนแปลงจำนวน โครโมโซม
2. มิวเทชันระดับยีน(gene mutation หรือpoint mutation)คือการเปลี่ยนแปลงจากยีนหนึ่งไปเป็นอีกยีนหนึ่งซึ่งป็นผลจากการ เปลี่ยนแปลงนิวคลีโอไทด์ในโมเลกุลของดีเอ็นเอ

การเกิดมิวเทชัน
การเกิดการมิวเทชันแบ่งออกได้เป็น  2  ชนิดคือ
1. มิวเทชันที่เกิดขึ้นเองในธรรมชาติ  (spontaneous mutstion)อาจเกิดขึ้นเนื่องจากรังสี สารเคมี อุณหภูมิในธรรมชาติ ซึ่งสิ่งต่างๆเหล่านี้ทำให้เกิดการเปลี่ยนตำแหน่งไฮโดรเจนอะตอมในโมเลกุลของ เบส(tautomeric shift)หรือการสูญเสียไฮโดรเจนอะตอมในโมเลกุลของเบส(ionization)ทำให้การจับ คู่ของเบสผิดไปจากเดิมมีผลทำให้เกิดการแทนที่คู่เบสแบบแทรนซิชันหรือทรา สเวอร์ชัน  ทำให้รหัสพันธุกรรมเปลี่ยนไป  แต่อัตราการเกิดมิวเทชันชนิดนี้จะต่ำมากเช่น เกิดในอัตรา 10-6 หรือ10-5
2.การมิวเทชันที่เกิดจากการชักนำ(induced mutation)เป็นการกลายพันธุ์ที่เกิดจากมนุษย์ใช้สิ่งก่อกลายพันธุ์(mutagen)ชักนำให้เกิดขึ้นซึ่งสิ่งก่อกลายพันธุ์มีดังนี้
ที่มา : www.kik5.com/index.php?option=com...



 แบคทีเรียเป็นสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กที่มีอยู่มากมายหลายชนิดทั้งมีอยู่ในสภาพแวดล้อมทั่วไปโดยไม่ก่อโรคและก่อโรคในคนหรือในสัตว์ ดังนั้นการศึกษาและจำแนกชนิดของแบคทีเรียจึงต้องใช้ความละเอียดในการสังเกตและแยกความแตกต่างของแบคทีเรียทั้งลักษณะภายนอก ที่สังเกตได้ด้วยตาเปล่าเช่น สีขนาดโคโลนี ความโปร่งแสงทึบแสง ความสามารถในการทำให้เม็ดเลือดแดงเกิด Hemolysis ใน blood agar การย้อมสีและดูด้วยกล้องจุลทรรศน์และการทดสอบคุณสมบัติทางชีวเคมี ีในการศึกษาและจำแนกชนิดของเชื้อแบคทีเรียนอกจากจะต้องอาศัยการสังเกตและการทดสอบทุกขั้นตอนยังต้องมีความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับโครงสร้างและหน้าที่ ของเซลล์แบคทีเรียเพื่อจะได้เข้าใจถึงธรรมชาติของแบคทีเรียและกลไกในการดำรงชีวิตและการก่อโรคได้
 ที่มา :  www.medtechzone.com/data/bac/bacteria.php








ที่มา : www.seabuckthornthai.com/index.php?lay=show...


1. สาหร่ายในไฟลัมพีโอไฟตา เรียกโดยทั่วไปว่าสาหร่ายสีน้ำตาล (Brown algae) ทั้งนี้เพราะมีรงควัตถุที่ทำให้เกิดสีน้ำตาล คือ ฟิวโคแซนทีน (Fucoxanthin) อยู่มากกว่าคลอโรฟิลล์ เอ และคลอโรฟิลล์ ซี สาหร่ายสีน้ำตาลมีมากในทะเลตามแถบชายฝั่งที่มีอากาศเย็น มีเพียง 35 จีนัสที่พบในน้ำจืด สาหร่ายสีน้ำตาลมักเรียกชื่อทั่วไปว่า sea weed เพราะเป็นวัชพืชทะเล
ที่มา :  www.thaigoodview.com/library/.../lopburi/.../sec03po3.html




ห่วงโซ่อาหาร (Food Chain)
             หมายถึง  ความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิตในเรื่องของการกินต่อกันเป็นทอด ๆ  จาก  ผู้ผลิตสู่ผู้บริโภค ทำให้มีการถ่ายทอดพลังงานในอาหารต่อเนื่องเป็นลำดับจากการกินต่อกัน


 ตัวอย่าง เช่น


 
            จากแผนภาพ จะสังเกตเห็นว่า การกินต่อกันเป็นทอด ๆ ในห่วงโซ่อาหารนี้ เริ่มต้นที่ ต้นข้าว  ตามด้วยตั๊กแตนมากินใบของต้นข้าว   กบมากินตั๊กแตน  และ เหยี่ยวมากินกบ  ซึ่งจากลำดับขั้นในการกินต่อกันนี้ สามารถอธิบายได้ว่า



            ต้นข้าว นับเป็นผู้ผลิตในห่วงโซ่อาหารนี้ เนื่องจากต้นข้าว เป็นพืชซึ่งสามารถสร้างอาหารได้เองโดยใช้กระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง


            ตั๊กแตน นับเป็นผู้บริโภคลำดับที่ 1 เนื่องจาก ตั๊กแตนเป็นสัตว์ลำดับแรกที่บริโภคข้าวซึ่งเป็นผู้ผลิต


            กบ นับเป็นผู้บริโภคลำดับที่ 2  เนื่องจาก กบจับตั๊กแตนกินเป็นอาหาร หลังจากที่ตั๊กแตนกินต้นข้าวไปแล้ว
 ตอบ  4
ที่มา : www.thaigoodview.com/node/16425

ก๊าซเรือนกระจกในธรรมชาติ
ก๊าซเรือนกระจกที่มีอยู่ในบรรยากาศโลกตามธรรมชาติ ซึ่งประกอบด้วยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) มีเทน (CH4) และไนตรัสออกไซด์ (N2O) มีคุณสมบัติดูดกลืนความร้อน ทำให้โลกอบอุ่น และเอื้อให้สิ่งมีชีวิตสามารถอาศัยอยู่ในโลกได้ แต่กิจกรรมต่างๆของมนุษย์ โดยเฉพาะหลังยุคปฏิวัติอุตสาหกรรมเป็นต้นมา มีการใช้พลังงานฟอสซิล (fossil fuel) เช่น น้ำมัน ถ่านหิน มาก การสูญเสียพื้นที่ป่าไม้ ทำให้ก๊าซเรือนกระจกถูกปลดปล่อยออกสู่บรรยากาศในปริมาณมาก บรรยากาศโลกดูดกลืนความร้อนไว้มากขึ้น เกิดภาวะเรือนกระจก หรือโลกร้อน นำมาสู่การเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศทั่วโลก
ก๊าซเรือนกระจกที่ถูกควบคุมด้วยพิธีสารมอนทรีออล
สารสังเคราะห์ที่ใช้ในอุตสาหกรรมหลายชนิด เช่น chlorofluorocarbons (CFCs), hydrochlorofluorocarbons (HCFCs), halons, methyl bromide (CH3Br) เป็นต้น ใช้กันแพร่หลายในเครื่องทำความเย็น และอุตสาหกรรมต่างๆ สารเหล่านี้นอกจากทำลายชั้นของโอโซน (Ozone Depleting Substances, ODSs) ที่ห่อหุ้มบรรยากาศโลกซึ่งช่วยกรองแสงอัลตราไวเลต (UV) แล้ว ยังมีค่าศักยภาพในการดูดกลืนความร้อน (Global warming potential, GWP) สูงกว่าก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์หลายเท่า เช่น ก๊าซ CFC-12, CFC-114 มีค่า GWP สูงถึง 9,880 และ 10,270 เป็นต้น
ในปัจจุบันสาร CFC เหล่านี้ถูกควบคุมการผลิตโดยพิธีสารมอนทรีออล (Montreal Protocol on Substances that Deplete the Ozone Layer) ซึ่งเป็นข้อตกลงร่วมกันระหว่างนานาประเทศในการควบคุมการผลิตและการบริโภคสารที่ทำลายชั้นของชั้นโอโซนที่ห่อหุ้มบรรยากาศโลก
ก๊าซเรือนกระจกที่ไม่ทำลายชั้นโอโซนแต่ดูดกลืนความร้อนสูง
สารบางชนิดที่นำมาใช้ทดแทนสารที่ทำลายชั้นโอโซน (ODSs) มีสมบัติเป็นก๊าซเรือนกระจกที่รุนแรง คือมีค่า GWP สูงกว่าสาร ODSs มากเช่น Perfluorocarbons (PFCs), Hydrofluorocarbons (HFCs) และ SF6 เป็นต้น ค่า GWP ของก๊าซเหล่านี้แสดงในตารางที่ 2 การรายงานการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกภายหลัง ค.ศ. 1995 ต้องประเมินการปลดปล่อยก๊าซเหล่านี้ด้วย
ศักยภาพในการดูดกลืนความร้อน (global warming potential) ของก๊าซเรือนกระจกชนิดต่าง ๆ
ก๊าซเรือนกระจกแต่ละชนิดมีศักยภาพในการดูดกลืนพลังงานความร้อน (Global warming potential หรือ GWP ) ไม่เท่ากัน โดยมีการกำหนดค่าให้ดูดกลืนความร้อนของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) เป็นมาตรฐานเปรียบเทียบ เช่น ก๊าซมีเทน (CH4 ) และ ก๊าซไนตรัสออกไซด์ (N2O ) มีค่า GWP 21 และ 320 นั่นคือก๊าซก๊าซมีเทน และก๊าซไนตรัสออกไซด์ 1 กิโลกรัม ดูดกลืนพลังงานความร้อนได้มากกว่าก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ถึง 21 และ 320 เท่าตามลำดับ การปลดปล่อยก๊าซมีเทน CH4 และก๊าซไนตรัสออกไซด์ N2O 1 กิโลกรัม จึงเท่ากับการปลดปล่อย CO2 ถึง 21 และ 320 กิโลกรัม เป็นต้น
กิจกรรมที่ทำให้ก๊าซเรือนกระจกในบรรยากาศมีปริมาณเพิ่มขึ้นแสดงในตารางที่ 1 การเผาไหม้เชื้อเพลิงที่ไม่สมบูรณ์ปลดปล่อยสารอินทรีย์ระเหยได้ที่มิใช่มีเทน (Non-Methane Volatile Organic Compounds หรือเรียกกันทั่ว ๆ ไปว่า NMVOC) แต่ปริมาณการปลดปล่อยขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง การประเมินการปลดปล่อยจึงมีความไม่แน่นอนสูง นอกจากนี้ไอน้ำในบรรยากาศจัดว่าเป็นก๊าซเรือนกระจกได้เช่นเดียวกัน แต่มิได้นำมาประเมินปริมาณการปลดปล่อยด้วย

ตอบ 2
ที่มา : www.ru.ac.th/climate-change/GHG.htm




อาณาจักรมอเนอรา (Kingdom Monera)

ลักษณะสำคัญของสิ่งมีชีวิตในอาณาจักรมอเนอรา
   - เป็นสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียวที่มีโครงสร้างเซลล์แบบโพรคาริโอต (prokaryotic cell) ในขณะที่สิ่งมีชีวิตอื่นๆทุกอาณาจักรมีโครงสร้างเซลล์แบบยูคารีโอต (eukaryotic cell)
   - ไม่มีออร์แกเนลล์ชนิดมีเยื่อหุ้มเช่น ร่างแหเอนโดพลาสซึม กอลจิคอมเพลกซ์ ไลโซโซม คลอโรพลาสต์ มีเฉพาะออร์แกเนลล์ที่ไม่มีเยื่อหุ้มคือไรโบโซม
   สิ่งมีชีวิตใรอาณาจักรนี้มีความสำคัญอย่างมากต่อระบบนิเวศ กล่าวคือ กลุ่มแบคทีเรียทำหน้าที่เป็นผู้ย่อยอินทรียสารก่อให้เกิดการหมุนเวียนสารอนินทรีย์และอินทรีย์สารต่างๆ สาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงินทำหน้าที่เป็นผู้ผลิตในระบบนิเวศและสิ่งมีชีวิต 2 กลุ่มนี้ยังมีความสำคัญในแง่เทคโนโลยีชีวภาพซึ่งได้มีการศึกษาวิจัยเพิ่มมากขึ่น เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในด้านการเพิ่มผลผลิตทางการเกษตร อุตสาหกรรม การแพทย์ และการศึกษาพันธุศาสตร์ซึ่งช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชากรให้ดียิ่งขึ้น
สิ่งมีชีวิตในอาณาจักรนี้แบ่งเป็น 2 ไฟลัม คือ
   1. ไฟลัมชิโซไฟตา (Phylum Schizophyta)
   2. ไฟลัมไซยาโนไฟตา (Phylum Cyanophyta)

ตอบ 4

การลำเลียงน้ำของพืช
น้ำเป็นปัจจัยที่สำคัญต่อการเจริญเติบโตของพืชเป็นอย่างยิ่งพืชที่กำลังเจริญเติบโตมีน้ำอยู่ประมาณร้อยละ 90 ของน้ำหนักทั้งหมดพืชบกขนาดเล็กที่ไม่มีท่อลำเลียงจะเจริญเติบโตได้ดีในบริเวณที่มีความชื้นสูงและมีร่มเงา ตังนั้นความชุ่มชื้นหรือปริมาณของน้ำจึงเป็นปัจจัยอย่างหนึ่งในการจำกัดจำนวนประชากรของพืช ในต้นไม้บางต้นที่มีความสูงมากกว่า 100 เมตร เซลล์ทุกเซลล์ยังสามารถได้รับน้ำและแร่ธาตุต่างๆ จากการดูดซึมของรากที่ลำเลียงผ่านมาตามท่อลำเลียงได้ และปริมาณของน้ำที่ลำเลียงเข้ามาในพืชนี้พืชนำไปใช้เกี่ยวกับกระบวนการเมแทบอลิซึมน้อยมาก น้ำส่วนใหญ่จึงสูบเสียออกทางปากใบสู่บรรยากาศ แล้วพืชก็จะลำเลียงน้ำขึ้นมาทดแทนใหม่อยู่เสมอจึงเป็นที่น่าสงสัยว่า พืชมีกลไกในการลำเลียงน้ำซึ่งมีปริมาณมากๆเช่นนี้ขึ้นมาได้อย่างไร การดูดน้ำของราก

ตอบ  3
ที่มา :  www.thaienv.com/content/view/670/40/


สารละลายไฮเพอร์โทนิก (Hypertonic solution)          หมายถึง สารละลายภายนอกเซลล์เม็ดเลือดแดง มีความเข้มข้นมากกว่าสารละลายภายใน
เซลล์เม็ดเลือดแดง เป็นผลทำให้น้ำภายในเซลล์เม็ดเลือดแดงออสโมซิสออกนอกเซลล์ เป็นผล
ทำให้เซลล์เม็ดเลือดแดงเหี่ยวลง ในความเป็นจริงน้ำก็เคลื่อนเข้าเซลล์เหมือนกันแต่น้อยกว่าออก
ผลจากการที่เซลล์ลดขนาด เหี่ยวลงเนื่องจากเสียน้ำ เรียกปรากฏการณ์นี้ว่า plasmolysis

           ในเซลล์พืชจะทำให้โพรโทพลาซึมหดตัวจึงดึงให้เยื่อหุ้มเซลล์ที่แนบชิดกับผนังเซลล์
แยกออกจากผนังเซลล์ มองเห็นเป็นก้อนกลมอยู่กลางเซลล์
ตอบ  2
ที่มา: www.thaigoodview.com/library/.../45/2/.../osmosis2.html



2 ความคิดเห็น:

  1. 100คะแนน

    การจัดวางดีแต่ตัวหนังสือเล็กไปนิดนึ่ง

    ตอบลบ
  2. ให้ 85 คะแนน เนื้อหาบางข้อไม่มีเพิ่มเติม
    ตัวหนังสือเล็ก

    ตอบลบ